วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จริยธรรม

ความหมายของจริยธรรม
คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
 ชีวิตคนส่วนใหญ่   ต้องการมีความสุขในชีวิต  ต่างก็สรรหาสิ่งของและวัตถุที่อำนวยความสะดวกสบาย  และสร้างความสุขให้กับชีวิต  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตไม่ใช่เป็นเพียงแค่ ปัจจัย 4  ( อาหาร  เครื่องน่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรค ) แต่ยังมีปัจจัยที่ 5  ( รถยนต์ ) ปัจจัยที่ 6 ( โทรศัพท์มือถือ )  และปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย  ที่มาตอบสนองความต้องการของตัวเอง  ทั้งที่รู้ว่าตัวเองมีเงินไม่มากพอ  หรือไม่มีเลย  ก็เที่ยวหยิบยืมเงินเพื่อนบ้าน  เพื่อนฝูง  หรือแม้แต่ก็กู้เงินนอกระบบ  โดยจ่ายดอกเบี้ยถึง ร้อยละ 10 ร้อยละ 20  ก็ต้องยอม  เพราะอยากได้จริง  เข้าทำนองที่ว่า  ขาดเจ้าและข้าจะต้องขาดใจตาย   มันก็ต้องขาดใจตายไปจริงๆ น่ะ  มองๆไปรอบๆข้างมีแต่ค่าใช้จ่ายที่เป็นหนี้มากมาย  ไหนจะค่าผ่อนบ้านหรือค่าเช่าบ้าน  ค่าน่ำประปา  ค่าโทรศัพท์  ค่าเล่าเรียนค่ากินของลูก  ค่าผ่อนรถยนต์  ค่าผ่อนแอร์ ค่าน้ำมันรถ จิปาถะอีกมากมาย  คิดแล้วอยากตายๆไปให้พ้นจากโลก  ชีวิตที่มีอยู่ก็หาความสุขไม่ได้

ประวัติศาสนาพุทธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย


ประวัติศาสนาพุทธ
ศาสดา
พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจาก ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศ